fbpx

ร่างกายเราขาด Zinc หรือเปล่า? เช็คด่วน📌

สังกะสี หรือ Zinc เป็นแร่ธาตุสำคัญต่อร่างกายของเรามาก ๆ เลยค่ะ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ดูแลผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง หรือช่วยเรื่องการเจริญเติบโต แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้าร่างกายเราขาดสังกะสี? แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าขาดหรือเปล่า? มาเช็คกันในบทความนี้กันค่ะ

สัญญาณเตือนว่าร่างกายอาจขาดซิงค์

ภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง

หากร่างกายป่วยง่าย หรือติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียบ่อย ๆ อาจเป็นสัญญาณที่บอกว่าร่างกายกำลังขาดซิงค์ เนื่องจากซิงค์มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ดีขึ้น ผู้ที่ขาดซิงค์อาจพบว่าป่วยง่ายกว่าเดิม และอาจต้องใช้เวลาฟื้นตัวจากโรคต่าง ๆ นานกว่าคนทั่วไปค่ะ

แผลหายช้า

ซิงค์มีส่วนช่วยในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของร่างกาย หากร่างกายขาดซิงค์ แผลที่เกิดขึ้นอาจใช้เวลานานกว่าจะหาย แม้จะเป็นแผลเล็ก ๆ ก็ตาม เช่น แผลถลอกหรือแผลที่เกิดจากของมีคม ถ้าแผลไม่หายตามเวลาที่ควร อาจเป็นเพราะระดับซิงค์ในร่างกายไม่เพียงพอ

ผมร่วง ผิวแห้ง ผิวลอก

การที่ผิวหนังขาดความชุ่มชื้น เกิดอาการผิวแห้งหรือลอกบ่อย ๆ รวมถึงผมร่วงเยอะ ก็อาจเป็นผลจากการขาดซิงค์ ร่างกายต้องการซิงค์ในการสร้างเซลล์ใหม่ ๆ ซึ่งรวมถึงเซลล์ผิวหนังและเซลล์รากผม หากไม่ได้รับแร่ธาตุนี้เพียงพอ ผิวและเส้นผมอาจไม่แข็งแรงเท่าที่ควร ทำให้เกิดผิวลอก ผิวแห้ง ผมขาดหลุดร่วงได้ง่าย

รสชาติอาหารไม่อร่อย

หากรู้สึกว่ารสชาติของอาหารจืดหรือเปลี่ยนไป นั่นอาจเป็นสัญญาณของการขาดซิงค์ เพราะซิงค์มีบทบาทในการทำงานของต่อมรับรสในลิ้น หากขาดซิงค์ ต่อมรับรสอาจทำงานผิดปกติ ทำให้การรับรู้รสชาติต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป

ความจำไม่ดี

การขาดซิงค์สามารถส่งผลต่อการทำงานของสมอง โดยเฉพาะในเรื่องของความจำ หากรู้สึกว่าสมองไม่ปลอดโปร่ง จดจำข้อมูลต่าง ๆ ได้ยาก หรือเกิดอาการสมองล้า อาจเป็นผลมาจากระดับซิงค์ในร่างกายต่ำ ซึ่งทำให้การทำงานของสมองช้าลง

วิธีเติมซิงค์ให้ร่างกาย

การเติมซิงค์ให้เพียงพอ สามารถทำได้ผ่านการบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยซิงค์ โดยเฉพาะอาหารประเภทโปรตีนสูงจากสัตว์และพืช ดังนี้

หอยนางรม

หอยนางรมเป็นแหล่งซิงค์ที่มีปริมาณสูงมาก การทานหอยนางรมเพียงเล็กน้อยก็สามารถช่วยเสริมซิงค์ให้ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ

เนื้อแดง

เนื้อวัวและเนื้อหมูเป็นแหล่งซิงค์เลยค่ะ นอกจากจะมีโปรตีนสูงแล้ว ยังมีปริมาณซิงค์ที่เพียงพอต่อการสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกันและการฟื้นฟูเนื้อเยื่ออีกด้วย

ถั่วเมล็ดแห้ง

ถั่วลิสง อัลมอนด์ พิสตาชิโอ และถั่วประเภทต่าง ๆ มีซิงค์ในปริมาณที่เหมาะสม การทานถั่วเป็นประจำสามารถช่วยรักษาระดับซิงค์ในร่างกายได้

เมล็ดฟักทอง

เมล็ดฟักทองเป็นอีกหนึ่งแหล่งซิงค์จากพืชที่มีประโยชน์มาก การรับประทานเมล็ดฟักทองสามารถเสริมซิงค์และเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายได้

ซิงค์ หรือ สังกะสีเป็นแร่ธาตุเล็ก ๆ ที่มีบทบาทสำคัญต่อร่างกาย ถ้าเราไม่ดูแลให้ได้รับสังกะสีเพียงพอ อาจเกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ เพราะฉะนั้นอย่าลืมเช็คตัวเองและดูแลสุขภาพด้วยการทานอาหารที่มีซิงค์ เพื่อให้ร่างกายของเราแข็งแรงนะคะ💕