ถึงเทศกาลสอบทีไร ต้องเตรียมตัวอ่านหนังสือสอบกันยกใหญ่ แต่ยิ่งอ่านหนังสือเยอะเท่าไหร่ วิชานั้นวิชานี้ก็ตีกันในสมองไปหมด จนจำอะไรแทบไม่ได้ วันนี้ทาง LAB Society ขอมาแนะนำเทคนิคการจดบันทึกหรือการ Short-note ที่จะมาช่วยเพิ่มพื้นที่ความจำในการอ่านหนังสือของคุณกันค่ะ
อย่าใช้ตัวหนังสือเยอะจนเกินไป
เป็นเทคนิคการใช้ความเข้าใจเมื่ออ่านจบในส่วนหนึ่งของย่อหน้าหรือในหนึ่งหน้าให้ทำการสรุปเนื้อหาตามที่เข้าใจเป็นตัวย่อๆอย่างเช่น บัญชีลูกหนี้ ก็ให้เขียนเป็น บ/ช.ลูกหนี้ พระราชา ให้เขียนย่อเป็น King หรือ K. ประชาชนก็แทนด้วยตัว P. หรือ ป.ช.ช เป็นต้น การจดโน้ตด้วยตัวย่อแบบนี้จะช่วยให้เราจำเนื้อหาได้ง่ายมากขึ้นและเข้าใจได้ง่ายขึ้นที่สำคัญคือเราต้องจำให้ได้ว่าตัวที่เราย่อหมายถึงอะไร เมื่อกลับมาอ่านทบทวนอีกครั้งจะได้ไม่เกิดความสับสน
ใช้สีสันเข้ามาช่วย
เขาว่ากันว่าความทรงจำระยะสั้น ที่ถูกจดจำด้วยสีสัน จะช่วยทำให้จดจำสิ่งเหล่านั้นได้ดียิ่งขึ้น เช่นเดียวกันกับการนำปากกาสีต่าง ๆ มาช่วยเขียนบันทึกหรือเน้นข้อความ การแยกหมวดหมู่ความสำคัญของเนื้อหาต่าง ๆ ที่เราอ่าน จะทำให้จดจำได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น ปากกาสีเหลืองเป็นสีที่ดูสะดุดตา เหมาะที่จะใช้เน้นตรงใจความสำคัญ ปากกาสีส้มเป็นสีที่ดูโดดเด่นควรใช้เน้นกับหัวข้อที่เป็นตัวอย่าง หรือหัวข้อที่มีการเปรียบเทียบความต่าง ปากกาสีแดงใช้เขียนเกี่ยวกับข้อห้ามข้อควรระวัง เป็นต้น การใช้ปากกาหลากสีสันมาเน้นข้อความ หรือนำมาช่วยจดข้อความจะช่วยทำให้เราจดจำเนื้อหาได้ง่ายยิ่งขึ้น
จดเฉพาะใจความสำคัญ
คุณไม่จำเป็นที่ต้องจดจำทุกใจความสำคัญของวิชานั้น ๆ ให้จำแต่เฉพาะในส่วนของใจความสำคัญที่คุณยังไม่แน่ใจ หรือยังไม่มั่นใจและอาจจะลืมมันบ่อย ๆ ควรเน้นแต่เฉพาะสิ่งที่น่าจะออกสอบ เป็นใจความสำคัญที่อาจารย์ชอบบอกหรือเน้นย้ำในห้องเรียนเท่านี้ก็เพียงพอแล้ว
ทำ Mind Mapping
เป็นการใช้โครงสร้างในการเขียนบันทึกมาช่วยทำให้เราเข้าใจในแต่ละส่วนของเนื้อหา ทำให้อ่านเข้าใจง่าย และมองเห็นถึงความแตกต่างระหว่างรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่อาจจะมองข้ามไปจนถึงภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมดที่ดูซับซ้อน แต่พอมาแจกแจงเป็นกิ่งก้านสาขา ก็ทำให้มองดูทุกอย่างเป็นภาพกว้างมากขึ้น ช่วยให้เข้าใจและจำได้ง่ายมากขึ้นด้วย
การจดบันทึกแบบ Cornell
เทคนิคนี้ถูกคิดค้นโดยศาสตราจารย์ Walter Pauk แห่งมหาวิทยาลัย Cornell ในปี ค.ศ. 1950 เป็นการจดช็อตโน๊ตที่ได้รับความนิยมอย่างมากซึ่งจะมีทั้งหมด 3 ส่วนด้วยกัน คือส่วนที่ 1 ทางด้านซ้ายมือ คือคำถามที่น่าจะออกสอบ หรือใจความสำคัญ และคำศัพท์ที่น่าสนใจ ส่วนที่ 2 ทางขวามือ คือเนื้อหาโดยสรุปในห้องเรียน และส่วนสุดท้ายส่วนที่ 3 ทางด้านล่าง คือการเขียนสรุปตามความเข้าใจของตัวเอง
หวังว่าเทคนิคเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านหนังสือสอบของคุณได้นะคะ อ่านหนังสือหนัก ใช้ความคิดเยอะแบบนี้ ก็อย่าลืมที่จะมองหาตัวช่วยดี ๆ อย่าง Herbitia Ginkgo มาช่วยบำรุงสมองกันด้วยนะ เพราะเขามีใบบัวบก และน้ำมันปลา ที่ช่วยบำรุงทั้งสายตาและระบบประสาท แถมยังช่วยในเรื่องของการนอนสำหรับผู้ที่นอนหลับยาก ทานแล้วผ่อนคลายหลับสบาย ตื่นมาสมองปลอดโปร่งพร้อมลุยกับข้อสอบทุกวิชาแน่นอนค่ะ