ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า อาการออฟฟิศซินโดรม กับพนักงานออฟฟิศนั้นเป็นของคู่กัน แม้ไม่ได้ทำงานที่ต้องออกแรงยกของหนัก แต่อาการปวดกล้ามเนื้อของชาวออฟฟิศก็เกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมการนั่งทำงานและสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม สะสมเข้าจนกลายเป็นออฟฟิศซินโดรมโดยไม่รู้ตัว และเพื่อเป็นการป้องกันตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ LAB Society ก็ได้รวบรวมวิธีบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อง่ายๆ กับ ท่าบริหาร office syndrome มาฝากเพื่อนๆให้เอาไปลองทำกันได้เลย~
“รู้หรือไม่? ออฟฟิศโดรม ไม่ใช่พนักงานออฟฟิศก็เป็นได้ ในความเป็นจริงแล้วออฟฟิศซินโดรมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกอาชีพ ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ผิดแบบซ้ำๆ เช่น นั่งผิดวิธี นั่งหลังค่อม หรือ พฤติกกรมการใช้โทรศัพท์มือถือ ในท่าเดิมเป็นเวลานาน และใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการท่องโลกออนไลน์ โดยขาดการเคลื่อนไหวของร่างกายก็เสี่ยงทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรมได้เช่นกัน”
สาเหตุของออฟฟิศซินโดรม
ออฟฟิศซินโดรม มีสาเหตุมาจาก 2 ปัจจัยหลักๆ ดังนี้
- สภาพแวดล้อมที่ทำงานไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น มีแสงสว่างน้อย อุปกรณ์ที่ใช้ไม่เหมาะสม โต๊ะทำงานอยู่ในระดับที่ไม่พอดี ตำแหน่งหน้าจอคอมพิวเตอร์สูงหรือต่ำจนเกินไป เก้าอี้ที่นั่งไม่มีพนักพิง
- อิริยาบถในการนั่งทำงานไม่เหมาะสม เช่น นั่งหลังค่อม หลังงอ นั่งบนเก้าอี้ที่ไม่มีพนักพิง หรือนั่งไม่เต็มก้น นั่งกอดอก นั่งไขว่ห้าง นั่งอยู่ในท่าเดิมนานๆ ไม่ขยับไปไหน
อาการออฟฟิศซินโดรม
อาการออฟฟิศซินโดรม มักจะมีอาการหลากหลาย เริ่มตั้งแต่ปวดกล้ามเนื้อเบาๆ ไปจนถึงกระดูกทับเส้น อาการออฟฟิศซินโดรมนั้นสามารถเบาเทาลงได้ด้วยการทำท่าบริหาร office syndrome ซึ่งหากใครที่เริ่มมีอาการปวดเมื่อยจากการนั่งทำงาน และสงสัยว่าจะเป็นออฟฟิศซินโดรม สามารถสังเกตอาการได้ดังนี้
- ปวดกล้ามเนื้อบริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกาย เช่น ไหล่ สะบัก คอ บ่า ท้ายทอย ปวดหลังส่วนบนหรือส่วนล่างปวดมือ ข้อมือ ปวดข้อศอก ปวดเข่าหรือข้อเท้า ปวดสะโพกหรือต้นขา มักจะมีอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง ปวดร้าวไปบริเวณอื่นใกล้เคียง มีลักษณะการปวดแบบล้าๆ ไม่สามารถระบุอาการหรือตำแหน่งที่ชัดเจนได้ โดยจะมีอาการปวดตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรงและทรมานอย่างมาก
- มีอาการของระบบประสาทร่วมด้วย เช่น ชา ปวดร้าว หรืออาจมีอาการหูอื้อ มึนงง ตาพร่ามัว ปวดไมเกรน หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรง
- อาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ เช่น ชาบริเวณมือและแขน และหากมีการกดทับเส้นประสาทนานเกินไปอาจมีอาการอ่อนแรงร่วมด้วย
- อาการทางตา เช่น ปวดตา เมื่อยล้าตา มีอาการแสบตา ระคายเคือง ตราพร่ามัว สู้แสงไม่ได้ น้ำตาไหล
- อาการทางผิวหนัง เช่น คันตามลำตัว เป็นผดผื่น แพ้ ผิวหนังแดง
- อาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น คัดจมูก ไอ จาม คล้ายเป็นภูมิแพ้ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก แสบคอคอแห้ง
วิธีป้องกันออฟฟิศซินโดรม
- ออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ เช่น เล่นโยคะ
- ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม ดังนี้
- จอคอมพิวเตอร์แนวตรงกับหน้า และอยู่เหนือกว่าระดับสายตาเล็กน้อย โดยขอบบนของจอคอมพิวเตอร์อยู่ตรงกับระดับสายตา ในท่านั่งที่รู้สึกสบาย
- จอคอมตั้งห่างกับความยาวเท่ากับความยาวแขน ซึ่งเป็นระยะที่สายตาอ่านได้สบาย
- แป้นพิมพ์วางอยู่ในระดับศอก ทำมุม 90 องศา
- เบาะของเก้าอี้ต่ำกว่าระดับเข่า ปรับให้มีช่องว่างระหว่างขอบเก้าอี้กับขาด้านหลัง
- ปรับเก้าอี้ให้เท้าวางบนพื้นได้พอดี ประมาณ 90 องศา
- ปรับพนักพิงหลังของเก้าอี้ให้รับกับหลังส่วนล่าง หากเก้าอี้ทำไม่ได้ให้ใช้หมอนหนุนหลังแทน
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน
- ยืดเหยียดกล้ามเนื้อระหว่างวัน
- เปลี่ยนอิริยาบถเพื่อให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลายอย่างน้อย ทุกๆ 1 ชั่วโมง
- พักสายตาจากจอคอมทุกๆ 10 นาที
- เปลี่ยนท่านั่งทำงานทุกๆ 20 นาที
- นั่งตัวตรง หลังชิดขอบด้านในของเก้าอี้
- จับเม้าส์ในตำแหน่งตรง ไม่บิด งอ ข้อมือขึ้นหรือลง
6 ท่าบริหาบอกลาออฟฟิศซินโดรม
1.วางมือข้างสะโพก บิดตัวไปข้างละ 20 วินาที (3 เซ็ต สลับซ้ายขวา)
2.วางมือที่ขมับ ออกแรงดึง 15 วินาที (3 เซ็ต สลับซ้ายขวา)
3.ประสานมือด้านหลัง ยืดตัวค้างไว้ 15 วินาที (3 เซ็ต)
4.มือประสานเหนือศีรษะ เอียงตัวค้างไว้ 15 วินาที (3 เซ็ต สลับซ้ายขวา)
5.มือระสานเหนือศีรษะ เหยียดสุด ค้างไว้ 15 วินาที (3 เซ็ต)
6.ไขว้แขนด้านหน้าค้างไว้ 15 วินาที (3 เซ็ต)